บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
25 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ 1
อาจารย์ก็ได้ให้กระดาษขาวเทาแบบแข็งมา 1 แผ่น โดยใน 1 แผ่น
ต้องแบ่งได้ 4 ส่วน เพื่อแบ่งให้กับเพื่อน จากนั้นอาจารย์ก็อธิบายถึงสื่อที่เราจะทำ อธิบายกระบวนการพออาจารย์อธิบายเสร็จก็ให้นักศึกษาลงมือทำ


วัสดุในการทำสื่อ
1.กระดาษขาวเทาแบบแข็ง
2.กรรไกร
3.มีดคัตเตอร์
4.สีเมจิก
5.ไม้บรรทัด
6.ดินสอ
7.แผ่นรองกรีด


ขั้นตอนการทำ
1.แบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน

2.นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็น  แนวนอน 10 ช่อง  แนวตั้ง 4 แถว วัด  ช่องละ 2 นิ้ว  แล้วตัดออก ซึ่งได้ทั้งหมด  2 ชุด  ชุดละ 2 แถว

3.นำกระดาษที่เหลือมาทำส่วนต่อไป แบ่งกระดาษเป็น 3 ช่อง 2 แถว นำสีเมจิกมาขีดเส้นแล้วตัดออก 2 แผ่น แบ่งช่องละ 2 นิ้ว 2 ช่อง
เขียนคำว่า "สิบ" และ "หน่วย" ลงในช่องที่ขีดไว้

4.นำกระดาษกาวย่นมาติดด้านหลังกระดาษแผ่นแรกและแผ่นที่ทำหน่วยสิบ ทำให้สามารถพับได้ แล้วนำเทปใสมาติดที่รอยด้านหน้า
ทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด

5.นำกระดาษส่วนมาขีดวัดช่องละ 2 นิ้ว 10 ช่อง แล้วแบ่งครึ่ง
ก็จะได้ทั้งหมด 20 ช่อง เขียนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด จากนั้นก็ตัดเป็นช่องๆ

6.จากนั้นก็นำตัวเลขที่เราได้มาวางในช่อง สิบ หน่วย


กิจกรรมที่ 2
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกมี 14 คน กลุ่มที่สองมี 13 คน 
ดิฉันได้อยู่กลุ่มก็แบ่งดินที่มี 14 คน




จากนั้นอาจารย์ก็แบ่งดินน้ำมันให้แต่ละกลุ่มปั้นเป็นรูปผลไม้อะไรก็ได้ ขนาดให้พอดี ดิฉัฯเลือกปั้นเป็นชมพู่


จากนั้นอาจารย์ถามแต่ละคนว่าปั้นอะไร และก็ถามว่าผลไม้ชนิดนี้
ภาษาอังกฤษเรียกว่ายังไง ให้นักศึกษาแต่ละคนตอบ



จากนั้นอาจารย์ก็ให้นำสื่อที่ทำในกิจกรรมแรกลงมากลุ่มละ 1ชุด
เพื่อเอาผลไม้ที่เราปั้นวางตามช่อง เพื่อให้เห็นผลไม้ได้อย่างชัดเจน
อาจารย์ก็ถามว่าเราเห็นอะไรบ้าง จะนำเข้าสู่การสอนได้อย่างไร
นักศึกษาก็ช่วยกันตอบว่า ได้เรื่องรูปทรง การนับจำนวน การจำแนก
การบอกจำนวน แล้วเราก็สามารถนำตัวเลขที่เราทำในกิจกรรมแรกมาวางเรียงเพื่อบอกจำนวนผลไม้ได้


ขั้นต่อไปอาจารย์ก็ให้นำสื่อชุดที่ 2 ลงมา
เพื่อแบ่งผลไม้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มเราใช้เกณฑ์ในการแบ่งคือ ผลไม้ที่มีรูปทรงกลม ก็จะได้ผลไม้ที่มีรูปทรงกลม 7 ผล
เมื่อเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม อยากทราบว่าอันไหนมากกว่ากัน ใช้วิธีการหยิบออก 1 ต่อ 1 วิธีการวางคือเรียงจากซ้ายไปขวา

 

ภาพนี้ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม 
เมื่อแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มอีกครั้ง ใช้เกณฑ์ผลไม้ที่มีหนาม 
 ได้กลุ่มละ  1 ต่อ 13 ผล

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จเก็บอุปกรณ์เข้าที่เรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ให้กลับมานั่งเป็นครึ่งวงกลมเหมือนเดิม เพื่อสรุปกิจกรรมที่เราทำในวันนี้
 การประดิษฐ์สื่อการสอนอย่างง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ
การแบ่งเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ควรซับซ้อนเกินไป ควรแบ่งโโยใช้เกณฑ์ที่เด็กสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
 เด็กใช้ทักษะการสังเกตเชื่อมโยงกับเกณฑ์เกิดการเปรียบเทียบ 
เมื่อนำออกทำให้ลดลงหรือน้อยลง

 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองแล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่แตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
 กระบวนการของสมอง  =    การรับรู้

          เมื่อเรานำสิ่งที่รับรู้มาใช้ปรับพฤติกรรมของเราหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อนั้นเกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด


บรรยากาศในห้องเรียน



คำศัพท์ภาษาอังกฤษ


1.Rose apple         ชมพู่
2.Mangosteen        มังคุด
3.Custard   apple   น้อยหน่า
4.Tamarind             มะขาม
5.Watermelon         แตงโม
6.Pomelo                ส้มโอ 
7.Grape                  องุ่น
8.Strawberry          สตอเบอร์รี่
9. Mango               มะม่วง
10.Durian              ทุเรียน


ประเมินตนเอง

ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
 ตั้งใจฟังเลาอาจารย์อธิบาย


ประเมินเพื่อน

เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่สำเร็จทันตามเวลา
อาจจะเสียงดังไปบ้างในขณะทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์  

อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสม
อาจารย์ชี้แจงและอธิบายกิจกรรมได้อย่างละเอียด
ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและอาจารย์ก็ให้ถามทุกครั้งที่สงสัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น